top of page

Theme and Variations - Alan Shulman

       Alan Shulman (เกิด 4 มิถุนายน พ.ศ. 2458 ใน Baltimore และเสียชีวิต 10 กรกฎาคม 2545 ในHudson,New York) เขาเป็นนักแต่งเพลงและนักเล่นเชลโลชาวอเมริกัน

Shuman เรียนเชลโลมาตั้งแต่เด็กและแสดงเปียโน trio อายุ 10 ขวบกับพี่น้องของเขาไวโอเล็ต (Piano) และซิลแวนชูลแมน (Violin) ที่ Peabody Conservatory เขาได้เรียนรู้จาก Bart Wirtz (Cello) และ Louis Cheslock (Harmony) เมื่อครอบครัวย้ายไปบรู๊คลินในปี 2471 เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของ National Orchestral Association ภายใต้การดูแลของ Leon Barzin และเรียนจาก Joseph Emonts (Piano) และ Winthrop Sargent (Harmony) ตั้งแต่ปีพ. ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2480 เขาเรียนเชลโลกับ Felix Salmondและการประพันธ์เพลงที่ Juilliard SchoolBernard Wagenaar

จากปีพ. ศ. 2480 ถึงปีพ. ศ. 2497 โดยมีการหยุดชะงักระหว่างปีพ. ศ. 2485 ถึงปีพ. ศ. 2491 ในระหว่างที่เข้ารับราชการในกองทัพเรืออเมริกันสมาชิกของ NBC Symphony Orchestra ภายใต้การดูแลของ Arturo Toscanini ในช่วงเวลานี้เขาได้ฝึกกับ Emanuel Feuermann (1939) และ Paul Hindemith (1942) ในฐานะนักดนตรีchamberเขาเล่นใน Kreiner String Quartet ตั้งแต่ปี 1935 ถึง 1938 และก่อตั้ง Stuyvesant String Quartet ร่วมกับ Sylvan พี่ชายของเขาซึ่งเขาแสดงผลงานของนักแต่งเพลงร่วมสมัยในช่วงทศวรรษที่ 1940 และ 1950 เป็นหลัก (รวมถึงวงเปียโนของ Dmitri Shostakovich ที่ Carnegie Hall ). ในการเรียบเรียงระหว่างการประจำการทางเรือ

          Shulman ประสบความสำเร็จครั้งแรกในฐานะนักแต่งเพลงด้วยธีมและรูปแบบต่างๆสำหรับวิโอลาและวงออเคสตราซึ่งเปิดตัวใน NBC ในปีพ. ศ. 2484 โดยมีศิลปินเดี่ยว Emanuel Vardi

Alan ShuLman

RUM - America

       รัม (Rum) ถือเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทหนึ่งที่อยู่คู่กับแวดวงการดื่มมาอย่างยาวนาน จากประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดของเหล้ารัมอาจจะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่บันทึกหลักฐานต่างๆของการผลิตเหล้าจาก ‘อ้อย’ ทำให้สามารถย้อนรอยการเดินทางของเหล้ารัมกลับไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน จากข้อมูลต่างๆพบว่า แหล่งผลิตรัมส่วนใหญ่ของโลกนั้นมาจากแถบหมู่เกาะทะเลแคริบเบียนและบางพื้นที่ของประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งปลูกอ้อยกันมาก

 

โดยจุดกำเนิดของรัมนั้นถือเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลจากอ้อย เพราะในสมัยนั้น จุดประสงค์หลักของการปลูกอ้อยก็เพื่อผลิตน้ำตาล โดยจะเหลือ ‘กากอ้อย’ หรือ ‘กากน้ำตาล’ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Molasses ทิ้งเป็นจำนวนมาก จนมีการนำกากน้ำตาลเหล่านี้มาหมักและผลิตสุราดูบ้าง จนเกิดเป็นเหล้ารัม

 

ในขณะเดียวกันก็มีการค้นพบบันทึกของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เมื่อครั้งที่ออกแล่นเรือแสวงหาดินแดนใหม่ครั้งที่ 2  กลุ่มของเขามีโอกาสได้ดื่มเหล้ารัมของพวกอินเดียนแดงบนเกาะบาร์บาโดส (Barbados) ในปี ค.ศ. 1600 ซึ่งคาดว่า นั่นน่าจะเป็นครั้งแรกที่ชาวตะวันตกได้รู้จักรสชาติของเหล้ารัม

 

ต่อมาก็มีการค้นพบว่า Rum อาจจะเรียกต่าง ๆ กันตามภาษาพื้นเมืองหรือภาษาถิ่นของดินแดนต่าง ๆ เช่น Roum or Rhum หรือภาษาอารบิกออกเสียงว่า อาร์-รัม (Ar-Rum) ขณะที่ยังมีคำอื่นๆ อีกหลายคำที่ถูกใช้แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป จักรวรรดิไบแซนไทน์ กรีก ออตโตมัน และ จักรวรรดิเซลจุค ในเอเชียไมเนอร์ เป็นต้น

TheMO-PrayaRum_content02.jpg
unnamed.gif

รัม (Rum) จัดเป็นประเภท Spirits เป็นเหล้าที่กลั่นจากอ้อยและกากน้ำตาล วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตรัมคือ กากน้ำตาลหรือ Molasses ในขั้นแรกเริ่มนั้น อ้อยจะถูกเก็บเกี่ยวและบดเพื่อแยกน้ำออกจากกากในกระบวนการผลิตน้ำตาล กากน้ำตาล หรือ Molasses ที่ได้จะถูกนำมาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเหล้ารัมต่อมา ซึ่งหลักๆแล้วมีอยู่สามขั้นตอน คือ

  1. การหมัก (Fermentation) – โดยใช้ยีสต์ (yeast) เป็นหลักในกระบวนการนี้

  2. การกลั่น (Distillation) – จะทำได้สองแบบคือ กลั่นโดย Column still คือการกลั่นต่อเนื่องครั้งเดียวออกมาเป็นสุราดีกรีสูง และกลั่น Pot still โดยการกลั่น Pot still นั้นจะให้กลิ่นและรสชาติที่มีความโดดเด่นมากกว่า (หากหยุดการผลิต ณ จุดนี้และบรรจุลงขวดจะเป็น White Rum)

  3. การบ่ม (Maturation) – หลังจากกลั่นเรียบร้อยแล้วเหล้ารัมจะถูกนำไปบ่มในถังไม้โอ๊ก ซึ่งจะมีการลนไฟอ่อนๆภายในถังไม้โอ๊กก่อนนำไปบ่มเพื่อกระตุ้นเนื้อไม้ให้เกิดกลิ่นหอมยิ่งขึ้น และเมื่อบ่มแล้วกลิ่นของไม้โอ๊กจะกลายเป็นกลิ่นหอมในเหล้ารัมนั้นด้วย ซึ่งในการบ่มนั้นไม่มีระยะเวลาขั้นต่ำในการบ่ม แต่ถึงอย่างไร การบ่มในถังไม้โอ๊ก หากยิ่งบ่มนาน สีก็จะยิ่งเข้มตามไปด้วย และในภูมิอากาศที่ร้อนกระบวนการบ่มก็จะยิ่งเร็วขึ้น

     เหล้ารัม (Rum) แบ่งออกได้ตามระยะเวลาการบ่มคล้ายกับการผลิตเหล้าหลายๆชนิิด โดยดีกรีของเหล้ารัมที่มีในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 35 – 43 %  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆคือ

  White Rum – โดยทั่วไป white rum จะมีรสชาติไม่แรง มีรสหวาน และนิยมนำไปทำ cocktail

  Gold Rum –  เป็นรัมสีทองอำพัน ซึ่งมักจะผ่านการบ่มในถังไม้โอ๊กโดยมีระยะเวลา หรือเรียกว่า aged rum

  Spiced Rum – รัมประเภทนี้ได้รสชาติจากการเติมเครื่องเทศหรือสมุนไพร และมักเติมคาราเมลเพื่อให้ได้สีทอง

  Dark Rum – เป็นกลุ่มที่มีสีของน้ำสุราเข้ม และมักจะผ่านการบ่มในถังไม้โอ๊กนานกว่า Gold Rum เพื่อให้เกิดสีและได้กลิ่นและรสชาติแรงยิ่งขึ้น หากผลิตในแถบแคริบเบียนอาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ถ้าหากเป็นแถบอเมริกาอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีเพื่อให้ได้รัมสีดำ เนื่องจากภูมิอากาศที่แตกต่างกัน dark rum จะมีรสชาติที่แรงกว่า white rum และ gold rum และมีรสของเครื่องเทศแฝงอยู่ให้รู้สึกได้ มักจะถูกใช้เพื่อเพิ่มความเข้มข้นและสีให้กับเครื่องดื่ม cocktail

LIQ9-Phraya-Bottle1.jpg

      ในเมืองไทยเองก็มีเหล้ารัมดีๆอยู่หลากหลายแบรนด์ และหนึ่งในนั้นคือ PHRAYA (พระยา) ที่มีความโดดเด่นในเรื่องความพิถีพิถันกับทุกๆขั้นตอน จึงทำให้สัมผัสรสชาติและกลิ่นนั้นกลายเป็นเอกลักษณ์ของ PHRAYA Craft of Refinement เพราะความพิถีพิถันและใส่ใจจึงทำให้ PHRAYA แตกต่างจากเหล้ารัมอื่นๆในไทย เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตที่มีแรงบันดาลใจจากความอุดมสมบูรณ์ของธาตุทั้งสี่บนผืนแผ่นดินไทย 

bottom of page